กาแฟโบราณ เมื่อพูดถึงกาแฟโบราณ หลายคนน่าจะนึกถึงบรรยากาศร้านเก่าๆ วีธีเล่นบาคาร่าออนไลน์ ในตลาดมีหน้าร้านในตู้โชว์ภายในมีเหล่าบรรดากระปุกหลายชนิดวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมด และพอมีลูกค้าตะโกนสั่งอาแป๊ะ เจ้าของร้านก็กุลีกุจอลงมือรังสรรค์เครื่องดื่ม ตามใจลูกค้า โดยจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ ต้องตัดน้ำร้อนขึ้นจากหม้อต้มด้วยกระบวย เอามาใส่ถุงกรองกากถุงยาวๆ ย้วยๆ แล้วชักให้น้ำไหลผ่าน ลงไปยังกระป๋องที่รองรับ เทไปเทมาอยู่ 2 ที่แล้วจึงเทลงแก้ว ยกเครื่องดื่มมาเสิร์ฟแล้วกินคู่กับปาท่องโก๋ตัวใหญ่ๆ อร่อยใช่ย่อย
กาแฟโบราณในยุโรป อย่างที่เรารู้กันว่า ในประเทศแถบตะวันตก รวมไปถึงแถบยุโรปนั้น วัฒนธรรมการดื่มกาแฟรวมถึงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกาแฟได้แพร่หลายมาก กาแฟได้กลายเป็นเศรษฐกิจสำคัญอย่างหนึ่งในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสงครามโลก ที่เมล็ดกาแฟขาดแคลนเป็นอย่างมาก ที่มีอยู่ก็มีราคาที่ดีดตัวสูงขึ้น ดังนั้นเหล่าพ่อค้าแม่ค้าจึงจำเป็นที่จะต้องคิดวิธีการในการลดต้นทุน โดยการหาวัตถุดิบอื่น ๆ มาผสมลงในกาแฟ ทั้งนี้ก็เพื่อลดปริมาณกาแฟที่จะต้องใส่ลงไปให้มากที่สุด
โดยวัตถุดิบแทนแต่ละชนิดก็ได้รับความนิยมจากกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มด้วยเช่นกัน คาสิโน777 ตัวอย่างเช่น บางคนไม่ได้ชื่นชอบความขมของกาแฟ การใช้วัตถุดิบอื่นก็น่าจะดีกว่า หรือบางคนอยากได้เครื่องดื่ม แต่ไม่ได้ต้องการได้รับคาเฟอีน หรือแม้แต่กลุ่มคนที่มีความเชื่อบางความเชื่อ บางศาสนา หรือบางลัทธิ ที่ถือว่ากาแฟเป็นสารเสพติด และต้องการที่จะเลี่ยงสารเสพติดนั้นเป็นต้น
กาแฟโบราณ ในประเทศไทย
ในประเทศไทยเราก็ได้มีการใช้วัตถุดิบอื่น ๆ มาผสมในกาแฟเพื่อลดต้นทุนด้วยเช่นกัน โดยในบ้านเรานี้เริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่กาแฟมีราคาแพงเช่นกัน วัตถุดิบ และธัญพืชส่วนใหญ่ที่นำมาผสมในกาแฟในบ้านเรามีดังนี้
- ข้าวกล้อง ข้าวกล้องนั้นเป็นข้าวที่มีราคาถูกในสมัยนั้น และที่สำคัญมีสารอาหารที่มีประโยชน์ค่อนข้างสูง การนำมาคั่วแล้วผสมกับกาแฟจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กาแฟเหล่านั้นได้
- ถั่วเหลือง ในบ้านเราก็ได้มีการใช้ถั่วเหลืองนำมาคั่วแล้วผสมกับกาแฟเช่นกัน เนื่องจากมีกลิ่นที่มีความคล้ายคลึงกับกาแฟ แต่ก็มีข้อเสียคือเก็บได้ไม่นานเนื่องจากเหม็นหืนง่าย
- ข้าวโพด ส่วนใหญ่แล้วในบ้านเราจะใช้ข้าวโพดที่ผู้คนนำมาเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าข้าวโพดเหล่านั้นมีความแข็งกว่าข้าวโพดปกติ และจะไม่แตกตัวง่ายในขณะคั่ว อีกอย่างเมื่อนำข้าวโพดไปคั่วแล้ว จะเพิ่มปริมาณของข้าวโพด เนื่องจากข้าวโพดนั้นมีการพองตัวขึ้น
- เม็ดมะขาม การใช้เม็ดมะขามนำมาคั่วแล้วมาบดผสมกับกาแฟนั้นก็ได้รับความนิยมอยู่บ้าง แต่ต้องระวังสักนิด เพราะหากใช้เม็ดมะขามในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้กาแฟของเรามีรสออกฝาด
- งา ส่วนใหญ่แล้ว การนำเอางาผสมกับกาแฟจะใช้งานดำที่ไม่ได้ผ่านการกระเทาะเปลือก แต่หากเทียบกับวัตถุดิบอื่น ๆ งานับว่าเป็นวัตถุดิบที่มีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็มีกลิ่นหอม และช่วยเพิ่มกลิ่นกับรสชาติของกาแฟให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย
- เนย เนยนั้นเป็นไขมัน ซึ่งมีความคล้ายกับไขมันที่อยู่ในเมล็ดกาแฟ เนยทำหน้าที่ให้กาแฟของเรานั้นมีความมันวาว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มกลิ่นและรสให้ดียิ่งขึ้นด้วย ที่สำคัญเลยยังเป็นตัวที่คอยควบคุมอุณหภูมิของน้ำตาล เพื่อไม่ให้น้ำตาลมีอุณหภูมิสูงจนเกินไป
- น้ำตาล ได้มีการใช้น้ำตาลทรายแดงผสมกับน้ำตาลทรายดิบ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มกลิ่นและรสของกาแฟให้ดียิ่งขึ้น
- เกลือ เกลือทำหน้าที่ปรับสมดุลของกาแฟ ไม่ให้กาแฟของเรามีความเปรี้ยวจนเกินไป ความเปรี้ยวนี้เกิดจากการเคี่ยวน้ำตาลแก่ หรืออ่อนจนเกินไป
นอกจากนี้ยังมีการใช้พืชชนิดอื่นมากมายในกระบวนการผลิตกาแฟโบราณของบ้านเรา บางครั้งก็มีการใช้ผลไม้ผสมกับกาแฟ เช่น กล้วยห่าม หรือแม้แต่ลำไยแห้ง